โลกจะต้องใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อเป็นพลังงานในที่อยู่อาศัยและเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งสำหรับประชากรที่เพิ่มขึ้นและมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่สูงขึ้น    แต่เพื่อเป็นการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรง    พลังงานจำเป็นต้องหาจากแหล่งที่มีคาร์บอนต่ำ   ความรู้  เทคโนโลยี และนวัตกรรม  จะช่วยให้เรามีได้ใช้พลังงานที่สะอาดขึ้นและมีปริมาณมากขึ้นได้

ภายในปี 2050 คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรบนโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 9 พันล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเกือบ 2 พันล้านคน ผู้คนมากมายในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จะกลายเป็นชนชั้นกลางของโลก คนเหล่านี้จะซื้อตู้เย็น เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่ใช้พลังงาน และจะมีคนอีกมากมายซื้อรถ เพิ่มจำนวนรถบนท้องถนนมากขึ้นกว่าเดิมเกินสองเท่า

ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องกันว่า ความต้องการพลังงานทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มเป็นสองเท่าภายในปี 2050  การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ยิ่งสำคัญมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ดังนั้น เทรน  GO GREEN  รักษ์โลก จึงมาแรง และกลับมาฮือฮา น่าสนใจอีกครั้ง ไม่ว่า จะเป็นหน่วยงานราชการ หรือ ภาคเอกชน ประชาชนทั่วไป ก็ต่างเริ่มมีการเคลื่อนไหว จนกลายเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามอง 

และเราที่อยู่ในวงการไฟฟ้า ก็ต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้อย่างมาก 

พลังงานทดแทนที่มาแรงที่สุดตอนนี้ คงหนีไม่พ้น พลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ เอ็นเนอร์ยี)

        ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การดำเนินการตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศตรงตามความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ ในส่วนของกระทรวงพลังงานเรามุ่งเน้นการพัฒนา เกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน ให้ชุมชนรู้คุณค่าของพลังงานที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำรวจศักยภาพด้านพลังงานทดแทนในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน

จากนั้นจะเข้าไปแนะนำให้ประชาชนใช้สิ่งที่มีอยู่ในชุมชุนทั้งขยะ ชีวมวล หรือแม้แต่แสงอาทิตย์ เพื่อพัฒนาเป็นพลังงานทดแทน ต้องส่งเสริมให้ประชาชนเชื่อมั่นเกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทน จนพร้อมให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนผ่านโครงการต่างๆ เช่น ระบบสูบน้ำบาดาลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ผ่านมาประชาชนขานรับนโยบายเป็นอย่างดี ชุมชนไหนมีความพร้อมรัฐบาลพร้อมจะเข้าไปส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นรูปธรรม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน

“กระทรวงพลังงานพร้อมส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนให้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน 30% ในอนาคตจากระดับ 10% ในปัจจุบัน โดยจะส่งเสริมการพัฒนาพลังงานชีวมวล ควบคู่พลังงานแสงอาทิตย์ โดยกระทรวงพลังงานเตรียมกำหนดกรอบระยะยาวไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลใน 10-20 ปีข้างหน้า โดยจะพัฒนาทั้งพลังงานทดแทนในส่วนของไฟฟ้าและยานยนต์ ซึ่งกรอบแผนงานจะกำหนดเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2561” ดร. ศิริกล่าว

เรารู้จักคำว่า  โซลาร์เซลล์หรือพลังงานแสงอาทิตย์   กันมานานมากแล้ว แต่ในแง่ของความเข้าใจ และการติดตั้งโซลาร์ในประเทศไทยจริงๆ นั้น ยังไม่ถือว่าเป็นที่นิยมนัก อาจเป็นเพราะราคาที่ค่อนข้างสูง และความกังวลต่างๆ ทั้งในเรื่องต้นทุน และความไม่เสถียร แต่กระแสแนวโน้มของโซลาร์ก็ดีขึ้นทันตาเห็น เมื่อหลายปีมานี้

มีการติดตั้งโซลาร์เซลส์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ที่เป็นโมเดลนำร่องชี้ให้เห็นว่า โซลาร์เซลส์ ติดตั้งแล้วคุ้มค่า ประหยัดค่าไฟฟ้า และเป็นพลังงานสะอาดรักษ์โลกอีกด้วย และเมื่อมีความต้องการติดตั้งเพิ่มมากขึ้น ก็มีการผลิตเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นการแข่งขันทางการตลาด แน่นอนว่า

ข้อดีของการแข่งขันคือ ทำให้ราคาการติดตั้งโซลาร์เซลส์ในปัจจุบันถูกลงหลายเท่าตัว ทำให้ภาคประชาชนเริ่มหันมาให้ความสนใจ เรื่องการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลส์มากขึ้น โดยเฉพาะโซลาร์รูฟท็อป

ดร.ดุสิต เครืองาม นายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย ได้กล่าวสรุปไว้ ในงานสัมมนา ไทยแลนด์ไลท์ติ้งแฟร์ว่า จุดเด่นของโซลาร์รูฟของประเทศไทยที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2562 คือ

– จะมีการติดตั้งโซลาร์รูฟระดับ 700-1000 MWp

– ค่าลงทุนลดลงจากอดีตมาก เหลือเพียง 30,000-40,000-50,000 บาท ต่อกิโลวัตต์ KWp และคืนทุนภายใน 4-6-7 ปี

– ต้นทุนค่าไฟฟ้า ต่ำกว่าซื้อไฟจากการไฟฟ้า

– โครงการโซลาร์รูฟเสรี คือใช้ไฟฟ้าเองทั้งหมด

– โครงการโซล่ารูฟภาคประชาชน คือ สามารถขายไฟส่วนเกินจากการใช้ให้ กฟน. กฟภ.

– เอกชนทำธุรกิจซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าเสรีกันเอง

– Third Party Access คือ เอชนจะสามารถใช้สายไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฯ ในการขนส่งกระแสไฟซื้อขายกัน โดยจ่ายผ่านค่าสายไฟให้กับการไฟฟ้า

– จะเริ่มมีการใช้ Battery ในการเก็บไฟฟ้า เพื่อใช้ในเวลาที่ต้องการและเหมาะสม

– หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อมัการแก้ไขกฎระเบขียบต่างๆ เกี่ยวกับการให้บริการ

จะเห็นได้ว่า โซลาร์เซลส์ชนิดติดตั้งบนหลังคา นับเป็นเทรนด์พลังงานที่ใกล้ตัวขึ้นมาทุกทีและเป็นพลังงานธรรมชาติที่ดูมีความหวังมากที่สุด และน่าจับตามองเป็นอย่างมาก ในปี 2562 นี้

รถยนต์ไฟฟ้ามาแน่นอน

 

กระแสรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ยังคงมีความตื่นตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ผศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย อีวี (EV) กล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จของรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย จะเป็นไปได้ ด้วยเหตุผลดังนี้

  1. สินค้าหรือเทคโนโลยีเหล่านั้นต้องใช้งานง่าย สะดวกสบาย เพื่อง่ายต่อการปรับเปลี่ยนไปใช้ ยกตัวอย่างเช่น การชาร์จไฟได้ง่ายที่บ้านเหมือนกับการชาร์จโทรศัพท์มือถือ ก็จะช่วยผลักดันให้มีการใช้งานมากขึ้น รวมไปถึง
  2. การมีจุดชาร์จที่ครอบคลุมเส้นทางของผู้ใช้งาน (ในกรณีที่ใช้รถเป็นระยะ) และ
  3. แรงสนับสนุนจากภาครัฐ ที่จะทำให้ Cost ราคาของรถยนต์ไฟฟ้านั้นถูกลง เป็นตัวเร่งให้เกิดตลาดเกิดผู้ใช้โดยเร็วยิ่งขึ้น

“สำหรับประเทศไทยอยู่ในขั้นเพิ่งเริ่มโดยเป็นลักษณะนำเข้า ราคาสูง และยังถูกนำมาใช้ไม่มากนัก ส่วนจุดชาร์จในประเทศจะมีมากกว่า 200 จุดในสิ้นปีนี้ และคาดว่าปี 2019 จะเริ่มเห็นการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง และไทยจะกลายเป็นตลาดหลักและผู้นำอาเซียน”ผศ.ดร.ยศพงษ์กล่าว

แม้จะยังมีความกังวลในหลายๆ เรื่องสำหรับผู้ใช้ แต่บรรดาค่ายรถทั้งหลาย กลับมุ่งหน้าที่จะนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาถึงมือคนไทยอย่างไม่รีรอ