เลือกขนาดหลักดินและสายดินอย่างไร?

มาตรฐานหลักดินตาม ว.ส.ท. แท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง (copperbonded ground rod ) หรือแท่งทองแดง (solid copper) หรือแท่งเหล็กอาบสังกะสี (hot-dip galvanized steel) ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5/8 นิ้ว (ขนาดโดยประมาณ 0.560 นิ้ว หรือ 14.20 มม. สำหรับแท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง และ 0.625 นิ้ว หรือ 15.87 มม. สำหรับแท่งเหล็กอาบสังกะสี) ยาวไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร

  • เหล็กที่ใช้เป็นแกนให้ทำจาก low carbon steel ที่มี tensile strength ขนาดไม่น้อยกว่า 600 นิวตันต่อ ตร.มม.
  • ทอง แดงที่ใช้หุ้มมีความบริสุทธิ์ 99.9 % และหุ้มอย่างแนบสนิทแบบ molecularly boned กับแกนเหล็ก ความหนาของทองแดงที่หุ้มที่จุดใดๆ ต้องไม้น้อยกว่า 250 ไมโครเมตร(0.25 มม.)
  • ต้องผ่านการทดสอบการยึดแน่นและความคงทนของทองแดงที่หุ้มด้วยวิธี Jacket Adherence test และ Bending Test ตามมาตรฐาน UL-467
  • ในกรณีแท่งเหล็กอาบสังกะสีต้องมีความหนาของสังกะสีไม่น้อยกว่า 80 ไมโครเมตร(0.075 มม.)

เป็น ไงครับอ่านถึงตรงนี้มึนไปเลย หาซื้อยากหน่อยนะ่ครับ สำหรับแท่งกราวด์ตามมาตรฐานข้างต้น จะมีเฉพาะร้านที่ใหญ่ๆ หรือร้านที่ขายของให้การไฟฟ้าครับ

มาตรฐานสายต่อหลักดินตาม ว.ส.ท. สายที่ต่อจากหลักดินมายังจุดต่อหลักดิน (ground bus) หรือต่อจากหลักดิน มายัง ground bus ในตู้ consumer unit โดยตรง

มาตรฐานสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าตาม ว.ส.ท. สายดินที่เดินไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า(บริภัณฑ์ไฟฟ้า)

วิธีการต่อ  :  สายต่อหลักดิน(เข้ากับหลักดิน)ตาม ว.ส.ท. ต้องใช้วิธีเชื่อมด้วยความร้อน (Exothermic Welding) หูสาย หัวต่อแบบบีบอัด ประกับต่อสาย หรือสิ่งอื่นที่ระบุให้ใช้เพื่อการนี้ ห้ามต่อโดยการใช้การบัดกรีเป็นหลัก อุปกรณ์ที่ใช้ต่อต้องเหมาะสมกับวัสดุที่ใช้ทำหลักดิน และสายต่อหลักดิน ห้ามต่อสายต่อหลักดินมากกว่า 1 เส้นเข้ากับหลักดิน นอกจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อเป็นชนิดที่ออกแบบมาให้ต่อสายมากกว่า 1 เส้น

*** ผมแนะนำให้ใช้ แท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง( copperbonded steel) ใช้เป็นหลักดินครับและใช้การต่อ สายต่อหลักดิน (เข้ากับหลักดิน) ด้วยวิธีเชื่อมด้วยความร้อน (Exothermic Welding)ครับ จะได้ไม่ต้องกังวล ว่าสายขันแน่นหรือเปล่า

ตัวอย่างวิธีเชื่อมดังนี้ครับ

ว.ส.ท. คือใคร? ในปี 2486 คุณพระประกอบ ยันตรกิจ ซึ่งเป็นเลขาธิการสมาคมนายช่างฯ ได้พบว่า สมาชิกส่วนใหญ่ที่เป็นนักเรียนรถไฟ ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศกลับมาเป็นนายช่าง ต่างก็แก่ตัวลงเกษียณราชการไปเป็นส่วนมาก ทำให้สมาชิกลดลง ขณะที่สมาคมวิศวกรรมฯ ซึ่งประกอบด้วยนายช่าง ที่จบทั้งจากในประเทศและต่างประเทศมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น จึงเกิดความคิดว่า ควรรวมสองสมาคมเป็นสมาคมเดียวกัน โดยรัฐบาลในสมัยนั้นเองก็มีความประสงค์ที่จะส่งเสริมอาชีพวิศวกรรม ให้เจริญ เป็นปึกแผ่น และจะออกพระราชบัญญัติวิศวกรรม เพื่อให้มีการควบคุมการประกอบวิชาชีพกันเองใน หมู่วิศวกร จึงได้มีการหารือกับกรรมการสมาคมวิศวกรรมฯ ซึ่งบางท่านเป็นกรรมการอยูในทั้งสองสมาคม ได้ข้อตกลงที่ให้ต่างฝ่ายต่างเลิก สมาคมของตน และมารวมกันตั้งเป็นสมาคมใหม่คือสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้ก่อตั้งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2486 และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2493 ได้โปรดเกล้าฯ ให้รับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา

กรรมการอำนวยการชุดแรกนั้น ท่านพลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษดิ์ ได้รับเป็นประธานกรรมการท่านแรกของ วสท. มีสมาชิกผู้ก่อตั้งรวมทั้งหมด 27 คน โดยงานแรกที่ วสท. ได้รับมอบหมายให้จัดทำคือ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม ก่อนที่จะได้ก่อรูปองค์กรมาเป็นวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ( ที่มา http://www.eit.or.th )