1.เมนสวิทช์ (Main Switch)

หรือสวิทช์ประธานเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้สำหรับต่อวงจรของสายเมนเข้าอาคารกับสายภายในทังหมด เป็นอุปกรณ์สับปลดวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (มิเตอร์) ของการไฟฟ้าเข้ามาในบ้านเมนสวิทช์ประกอบด้วยเครื่องปลดวงจร (Disconnecting Means) และเครื่องป้องกันกระแสเกิน (Overcurrent Protective Device)
หน้าที่ของเมนสวิทช์ คือ คอยควบคุมการใช้ไฟ้าให้เกิดความปลอดภัย ในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าเกิน หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เราสามารถสับ หรือปลดออกได้ทันที เพื่อตัดไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้ามายังอาคาร

     2.เบรกเกอร์ (เซอร์กิตเบรคเกอร์)

หรือสวิทช์อัตโนมัติ หมายถึงอุปกรณ์ที่สามารถใช้สับหรือปลดวงจรไฟฟ้าได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถปลดวงจรที่มีการใช้กระแสไฟฟ้าเกิน และกระแสลัดวงจรได้โดยอัตโนมัติ โดยกระแสลัดวงจรนั้นต้องไม่เกินขนาดพิกัดในการตัดกระแสลัดวงจรของเครื่อง (IC)

     3.ฟิวส์ 

เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินชนิดหนึ่งโดยจะตัดวงจรไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินค่าที่กำหนด และเมื่อฟิวส์ทำงานแล้วจะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (IC) ของฟิวส์ต้องไม่ต่ำกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่ผ่านฟิวส์

     4.เครื่องตัดไฟรั่ว

หรือ เครื่องตัดวงจรเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน (ELCB, GFCI, RCD, RCCB, RCBO) หมายถึง สวิทช์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อมีกระไฟ้ารั่วไหลลงดินในปริมาณมากกว่าค่าที่กำหนดไว้ เครื่องตัดไฟรั่วมักจะใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสริมกับระบบสายดิน เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดกรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มีไฟรั่วเกิดขึ้น

    5.สายดินเพือ่ความปลอดภัย

สายเขียว สายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าสายดินเครื่องใช้ไฟฟ้า (Equipment Grounding Conductor หรือ Protective Conductor หรือ P.E.) คำเหล่านี้ล้วนมีความหมายเดียวกันคือ หมายถึง ตัวนำ หรือ สายไฟฟ้าที่ต่อจากส่วนที่เป็นเปลือกโลหะของเครื่องใช้ไฟ้าหรืออุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้า ซึ่งปกติเป็นส่วนที่ไม่มีไฟฟ้าและมักมีการจับต้องขณะใช้งาน เพื่อให้เป็นเ้ส้นทางที่สามารถนำกระแสไฟฟ้ากรณีที่มีไฟรั่วให้ไหลลงดินโดยผู้ใช้หรือบุคคลทั่วไปที่มาสัมผัสและไม่เกิดอันตราย ขณะเดียวกันก็เป็นเส้นทางให้กระแสไฟรั่วไหลย้อนกลับไปยังหม้อแปลงไฟฟ้าได้สะดวก เพื่อให้เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติทำงานตัดไฟออกทันที โดยทั่วไปสายไฟดังกล่าวมักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า สายดิน

     6.หลักดิน (Ground rod หรือ Grounding Electrode หรือ Earth Electrode)

หมายถึง แท่งหรือแผ่นโลหะที่ฝังอยู่ในดินเพื่อทำหน้าที่แพร่หรือกระจายประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้ไหลลงสู่ดินได้โดยสะดวก วัตถุที่จะนำมาใ้ช้เป็นหลักดิน เช่น ทองแดง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร (5/8 นิ้ว) ยาวไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร เป็นต้น

     7.สายต่อหลักดิน (Grounding Electrode Conductor หรือ Earthing Conductor)

คือ สายตัวนำที่ใช้ต่อระหว่างหลักดินกับส่วนที่ต้องการต่อลงดิน ซึ่งในที่นี้หมายถึงสายที่ต่อระหว่างหลักดินกับขั้วต่อสายศูนย์หรือขั้วต่อสายดินในแผงสวิทช์ประธาน (ตู้เมนสวิทช์) เพื่อให้ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้ามีการต่อลงดิน

     8.เต้ารับ 

หรือปลั๊กตัวเมีย คือ ขั้วรบสำหรับหัวเสีียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ปกติเต้ารับจะติดตั้งกับที่ เช่น ติดอยู่กับผนังอาคารเป็นต้น

     9.เต้าเสียบ

หรือปลั๊กตัวผู้ คือ ขั้วหรือหัวเสียบจากเครื่องไฟฟ้าเพื่อเสียบเข้ากับเต้ารับทำให้สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้

     10.เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1

หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่มีความหนาของฉนวนไฟฟ้าเพียงพิสำหรับการใช้งานปกติเท่านั้น โดยมักมีเปลือกนอกของเครื่องใช้ไฟฟ้าทำด้วยโลหะเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ผู้ผลิตจำเป็นจะต้องมีการต่อสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะนั้น เพื่อใช้สามารถต่อลงดินมายังตู้เมนสวิทช์โดยผ่านทางขั้วสายดินของเต้าเสียบ-เต้ารับ

     11.เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2

หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการหุ้มฉนวนที่มีไฟฟ้า ด้วยฉนวนที่มีความหนาเป็น 2 เท่า ของความหนาที่ใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วๆ ไปสัญลักษณ์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2 คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ไม่จำเป็นจะต้องต่อสายดิน

     12.เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 3

หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับไม่เกิน 50 โวลต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ไม่ต้องมีสายดิน